นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย



ประวัตินาฏศิลป์ไทย        นาฏศิลป์  เป็นศิลปะแห่งการละคร  ฟ้อนรำ  และดนตรี  อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ  กำหนดว่า  ต้องประกอบไปด้วย  ศิลปะ  3  ประการ  คือ  การฟ้อนรำ  การดนตรี  และการขับร้อง  รวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งทั้ง  3  สิ่งนี้เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์  นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น  เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข  หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง  แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ  หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เทพเจ้า  โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ  ขับร้อง  ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ  เป็นต้น
               นอกจากนี้  นาฏศิลป์ไทย  ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย  เช่น  วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า  และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย  เช่น  ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช  ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร  ซึ่งมีทั้งหมด  108  ท่า  หรือ  108  กรณะ  โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก  ณ  ตำบลจิทรัมพรัม  เมืองมัทราส  อินเดียใต้  ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู  นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ  แต่งโดยพระภรตมุนี  เรียกว่า  คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์  ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน  และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ  แบบแผนการเรียน  การฝึกหัด  จารีต  ขนบธรรมเนียม  มาจนถึงปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตาม  บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทจยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800  ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย  ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนักปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข  ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของนาฎศิลป์ไทย




                นาฎศิลป์  คือ  การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม  โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
                นาฎศิลป์ของไทย  แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ   4  ประเภท  คือ
        1.  โขน  เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์  คือ  ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า  หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์  การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์  แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง  ๆ

        
2.  ละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

       3.   
ระ  และ ระบำ  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว  ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน  ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป  ดังนี้ 

               3.1  
รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง  ตั้งแต่  1-2  คน  เช่น  การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำอาวุธ  เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง  ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี  มีกระบวนท่ารำ  โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ  เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน  และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ  เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา –รามสูร  เป็นต้น

               3.2 
ระบำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่  2 คนขึ้นไป  มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน  กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน  ไม่เล่นเป็นเรื่องราว  อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี  ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก  เช่น  ระบำสี่บท  ระบำกฤดาภินิหาร  ระบำฉิ่งเป็นต้น
     4.  
การแสดงพื้นเมือง   เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ  ระบำ  หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4  ภาค  ดังนี้

               4.1  
การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ  เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง

               4.2 
 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม  ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน  เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน  หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว  เช่น  การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว  เต้นกำรำเคียว  รำโทนหรือรำวง  รำเถิดเทอง  รำกลองยาว  เป็นต้น  มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น  และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  เช่น  กลองยาว กลองโทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  และโหม่ง

               4.3  
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน  หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย  แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ  กลองยาว  อีสาน  ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง  และกรับ  ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว  รำอาไย  หรือรำตัด  หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึม  พิณ  ระนาด  เอกไม้  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

               4.4  
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมไ  2  กลุ่มคือ  วัฒนธรรมไทยพุทธ  ได้แก่  การแสดงโนรา  หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม  ได้แก่  รองเง็ง  ซำแปง  มะโย่ง  (การแสดงละคร)  ลิเกฮูลู  (คล้ายลิเกภาคกลาง)  และซิละ  มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ  เช่น  กลองโนรา  กลองโพน  กลองปืด   โทน  ทับ  กรับพวง  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไหน  รำมะนา  ไวโอลิน  อัคคอร์เดียน  ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต  ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่  การีดยาง  ปาเตต๊ะ  เป็นต้น



เพลงรำวงมาตรฐานและท่ารำ
เพลงและท่ารำที่ใช้ประกอบการเล่นรำวงมาตรฐาน 10 เพลง มีดังนี้

1. เพลงงามแสงเดือน
ใช้ท่า ชายและหญิง สอดสร้อยมาลา

UploadImage
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า   งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
                เราเล่นเพื่อสนุก    เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ
  ขอให้เล่นฟ้อนรำ    เพื่อสามัคคีเอย.

2.เพลงชาวไทย
ใช้ท่า ชายและหญิงชักแป้งผัดหน้า

                      ชาวไทยเจ้าเอย    ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
           การที่เราได้เล่นสนุก    เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
  เพราะชาติเราได้เสรี    มีเอกราชสมบูรณ์
    เราจึงควรช่วยชูชาติ    ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
     เพื่อความสุขเพิ่มพูน     ของชาวไทยเราเอย.

3.เพลงรำมาซิมารำ 
ใช้ท่า ชายและหญิง รำส่าย
           รำซิมารำ     เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริงจริง    ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์
      ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น    ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
 ตามเยี่ยงอย่างตามยุค    เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
    เล่นอะไรให้มีระเบียบ    ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
  มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ    มาเล่นระบำของไทยเราเอย.

4.เพลงคืนเดือนหงาย   
ใช้ท่า ชายและหญิง สอดสร้อยมาลาแปลง
         ยามกลางเดือนหงาย     เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
         เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต     เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้า     เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย

5.เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ใช้ท่า ชายและหญิง แขกเต้าเข้ารัง และ ผาลาเพียงไหล่
       ดวงจันทร์วันเพ็ญ      ลอยเด่นอยู่ในนภา
           ทรงกลดสดสี     รัศมีทอแสงงามตา
    แสงจันทร์อร่าม    ฉายงามส่องฟ้า
     ไม่งามเท่าหน้า    นวลน้องยองใย
                 งามเอยแสนงาม    งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา    จริตกิริยานิ่มนวลละไม
          วาจากังวาน    อ่อนหวานจับใจ
  รูปทรงสมส่วน    ยั่วยวนหทัย
        สมเป็นดอกไม้    ขวัญใจชาติเอย.

6.เพลงดอกไม้ของชาติ
ใช้ท่า ชายและหญิง รำยั่ว
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ      งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)
     เอวองค์อ่อนงาม      ตามแบบนาฎศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น      เจริญวัฒนธรรม
(สร้อย)
งามทุกสิ่งสามารถ    สร้างชาติช่วยชาย
        ดำเนินตามนโยบาย     สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ
(สร้อย)

7.เพลงหญิงไทยใจงาม
ใช้ท่า ชายและหญิง พรหมสี่หน้า และ ยูงฟ้อนหาง

   เดือนพราว     ดาวแวววาวระยับ
  แสงดาวประดับ    ส่องให้เดือนงามเด่น
           ดวงหน้า    โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น    เสริมให้เด่นเลิศงาม
            ขวัญใจ    หญิงไทยส่องศรีชาติ
    รูปงามพิลาศ    ใจกล้ากาจเรืองนาม
       เกียรติยศ    ก้องปรากฎทั่วคาม
     หญิงไทยใจงาม    ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว

8.เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ใช้ท่า ชายและหญิง ช้างประสานงา และ จันทร์ทรงกลดแปลง
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า     ชื่นชีวาขวัญพี่
      จันทร์ประจำราตรี     แต่ขวัญพี่ประจำใจ
    ที่เทิดทูนคือชาติ     เอกราชอธิปไตย
   ถนอมแนบสนิทใน     คือขวัญใจพี่เอย.

9.เพลงยอดชายใจหาญใช้ท่า ชาย จ่อเพลิงกาฬ หญิง ชะนีร่ายไม้

โอ้ยอดชายใจหาญ       ขอสมานไมตรี
        น้องมาร่วมชีวี       กอบกรณีกิจชาติ
   แม้สุดยากลำเค็ญ        ไม่ขอเว้นเดินตาม
         น้องจักสู้พยายาม        ทำเต็มความสามารถ.

10.เพลงบูชานักรบ
ใช้ท่า ชาย จันทร์ทรงกลด / ขอแก้ว หญิง ขัดจางนาง / ล่อแก้ว
                 น้องรักรักบูชาพี่    ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
       เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ     สมศักดิ์ชาตินักรบ
              น้องรักรักบูชาพี่    ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ    เกียรติพี่ขจรจบ
           น้องรักรักบูชาพี่    ที่ขยันที่ขยันกิจการ
                 บากบั่นสร้างหลักฐาน    ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
                    น้องรักบูชาพี่    ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
          เลือดเนื้อที่พลีอุทิศ    ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ


ที่มา https://th.wikipedia.org
     
        http://www.phattayakulschool.com/
http://www.artsw2.com/pottana/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=39

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น